สมาชิกชมรมพุทธศาสตร์รวมใจ คุณ San C นำเสนอเรื่องว่าตายแล้วไปไหน โดยบอก
ว่าคนเราตายแล้วมีทางไป 7 ทาง คือ
San C บอกอีกว่าตนเองนั้นตั้งปณิธาน มุ่งมั่นกำหนดวิสัยทัศน์ว่าจะไปใน ทางสายที่ 1 คือ ไปพระนิพพาน ด้วยกำลังวิปัสสนา
เมื่อท่านตั้งวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ต้องทำเช่นนั้นแล้ว ท่านบอกเพิ่มเติมอีกว่า ท่านกำลังลงมือทำกิจกรรมและโครงการต่างๆเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ที่ระบุไว้ ท่านบอกว่า
"...กำลังเดินทางไป ขับดันด้วยฉันทะ ไม่ได้ด้วยความอยาก มุ่งเน้นที่เหตุ คือทำเหตุให้ดี เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากเหตุ ปัจจัย เมื่อถึงพร้อมผลมันก็จะเกิดเอง เหมือนปลูกต้นไม้ หน้าที่เราคือรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสม ส่วนการออกผลเป็นหน้าที่ของต้นไม้ เราไปเร่งไม่ได้!!!"
สำหรับวิธีปฏิบัติเพื่อไปถึงทางสาย ที่ 1 นี้ San C อ้าง อนุคคหิตสูตร ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ ตั้งใจจริง เพื่อได้เจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ ซึ่งมีข้อความ ดังนี้ครับ
"ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติ เป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติ เป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ ประการ ที่สนับสนุนให้เกิดสัมมาทิฏฐิ มีอะไรบ้าง คำตอบคือ
๑. ศีล
๒. สุตะ
๓. สากัจฉา
๔. สมถะ
๕. วิปัสสนา
สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ ที่กล่าวแล้วนี้ สนับสนุน ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์"
ตามพระสูตรทียกมานี้ผมเข้าใจว่า
"เหตุแห่งสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ"
เมื่อผู้ปฏิบัติได้สัมมาทิฏฐิ คือ มีความตั้งใจชอบ ประกอบกับการมีองค์ 5 คือ 1) มีการรักษาศีล 2) มีการฟังธรรม 3) มีการสนทนาปรารภ บอกความเป็นไปแห่งจิตของตนเสมอ 4) มีการลงมือปฏิบัติสมาบัติ 8 และ 5) มีความหมั่นเพียรตรึกตรองธรรมะ เกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นิพพิทา วิราคา นิโรธา ปฏินิสสัคคา อันจะช่วยให้เกิดการรู้พร้อมเฉพาะเรื่องธรรม โดยการปฏิบัติธรรมานุปัสสนา เสมอๆ การทำพันธกิจคือ การปฏิบัติและภาวนาเช่นนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนกันและกันอีกชั้นหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ ในที่สุดผู้ปฏิบัติย่อมได้เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ!!!
ท่านครับ จากที่ผมกล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าการเข้าถึงเจโตวิมุตตินั้น เราจะต้องรู้พร้อมเฉพาะเรื่องจิตเสียก่อน รู้รอบและปฏิบัติจนถึงขั้นบรรลุสมาธิได้ ซึ่งสมาธินี้ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ก็คือการบรรลุมรรค ข้อที่ 8 นั่นเอง
การบรรลุมรรคข้อที่ 8 นี้มิใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้โดยเอกเทศ เดี่ยวๆตามลำพัง แต่เป็นการถึงซึ่งสัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นตามลำดับของการปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดทุกๆข้อ เริ่มตั้งแต่ ข้อที่ 1 คือ สัมมาทิฏฐิ ต่อไปสัมมาสังกัปปะ ต่อไปๆ ฯลฯ เช่นนี้ และประกอบกันเรื่อยไปทุกๆข้อเลย จนถึงข้อที่ 7 คือสัมมาสติและ ข้อ 8 ได้สัมมาสมาธิที่เรากำลังกล่าวถึงในที่สุด ครับ !!!
กล่าวโดยย่อ ท่าน San C จะบรรลุวิสัยทัศน์ตามที่ตั้งไว คือการไปนิพพานโดยใช้วิธีปฏิบัติวิปัสสนานั้น ก็ต้องประกอบด้วย มีการรักษาศีล มีการฝึกสติให้รู้สึกตัวเกิดสมาธิ และมีการทำวิปัสสนาจนเกิดปัญญา ทั้งสามนี้ประกอบกันครับ !!!
นี่คือเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติอย่างย่อๆครับ!
คำอธิบายศัพท์:
(๑) สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึง วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ แต่ในอรรถกถามัชฌิมนิกายอธิบายว่าหมายถึง อรหัตตมัคคสัมมาทิฏฐิ
(๒) เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึง มัคคสมาธิ อันได้แก่มรรคข้อที่ 8 สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ และผลสมาธิ
(๓) ปัญญาวิมุตติ ในที่นี้หมายถึง ผลญาณ ได้แก่ ผลปัญญาที่ ๔ กล่าวคือ อรหัตตผลปัญญา
(๔) ศีล ในที่นี้หมายถึง ปาริสุทธิศีล ๔ ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค
(๕ ) สุตะ ในที่นี้หมายถึง การฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ
(๖ ) สากัจฉา ในที่นี้หมายถึงการสนทนาบอกความเป็นไปแห่งจิตของตน
(๗) สมถะ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ ๘ ที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา จำแนกเป็น รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4
(๘) วิปัสสนา ในที่นี้หมายถึง อนุปัสสนา 7 ประการ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา
ท้ายที่สุด จากการอ่านคำอธิบายศัพท์เพิ่มเติมจะเห็นได้ว่าการเข้าถึง เจโตวิมุตติ เราจะต้องรู้พร้อมเฉพาะเรื่องจิตถึงขั้น บรรลุสมาธิ ซึงสมาธินี้ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ก็เป็นมรรค ข้อ ที่ 8
ท่านที่รักครับ
ในส่วนของ ปัญญาวิมุตติ นั้น ได้แก่ผลปัญญาขั้น อรหัตผลปัญญา หมายความว่าผลปัญญาที่ 4 ตามคำอธิบายศัพท์ข้างต้น
ส่วนวิธีปฏิยัติเพื่อได้ปัญญาวิมุตตินั้น อธิบายอย่างสั้น กระชับ นั้นมีดังนี้ครับ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้
จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ"
ขออนุโมทนาบุญให้ San C ของเราจุ่งบรรลุวิสัยทัศน์ของท่านเทอญ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ดร.ประสิทธิ์ คชโคตร
11 มีนาคม 2560