วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อีกห้าวันก็ปีใหม่ 2560 แล้ว ทำตัวให้คึกคักกันหน่อยครับ


มาทบทวนเรื่องความรวยกันดีกว่า

ความรวยที่หมายถึง  7 เรื่อง ต่อไปนี้ครับ

1) จิตใจที่สงบร่มเย็น (Peace of Mind)


2) การมีทัศนคติที่ดี (Positive Mental Attitude)

3) การมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง (Strong and Healthy Body) 


4) ความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความรัก (Loving and Healthy Relationship) 

5) เสรีภาพทางการเงิน (Financial Freedom)

 

6) การตั้งเป้าหมายและอุดมการณ์ที่สูงส่ง (Noble Ideology)

7) การมีความเชื่อมั่นในความสำเร็จของตนเอง (Self Esteem)


ลักษณะ 7 อย่างนี้ คือความรวยที่เราสรุปว่าเราสร้างได้ใน ปี 2559 ที่กำลังจะผ่านเราไปแล้วครับ!

 

ดร.ประสิทธิ์ คชโคตร

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ความรับผิดชอบ Responsibility การพึ่งตนเอง Self Help

เรื่องความรับผิดชอบ
1. ฝรั่งมองว่าคนไทยเรามักไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาในการทำงานไว้ล่วงหน้า  ทั้ง ๆ ที่งานบางชิ้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ยิ่งงานไหนให้เวลาในการทำงานนานก็จะยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ ๆ จะถึงกำหนดส่ง เลยทำงานออกมาแบบรีบ ๆ ไม่ได้ผลงานดีเท่าที่ควร
 
2. ไม่ค่อยยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าให้เซ็นชื่อรับผิดชอบงานที่ทำคนไทยจะกลัวขึ้นมาทันที เหมือนกับกลัวจะทำไม่ได้ หรือกลัวจะถูกหลอก!!!

มีหลักการที่สำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะต้องจดจำอยู่ 2 ประการ  ถ้าคุณประสงค์จะปฏิบัติตามหลักแห่งความรับผิดชอบ หลักการนั้น คือ 

1. ยิ่งมีภาระยิ่งใหญ่ ความรับผิดชอบของคุณก็ยิ่งมากขึ้น  มนุษย์ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลคนหนึ่งได้รับพรห้าประการที่จะนำไปทำการลงทุน เขาถูกบังคับให้รับผิดชอบต่อพรห้าประการนั้น  ถ้าคุณเองรับรู้พรที่พระผู้สร้างประทานให้แก่คุณ อันได้แก่

 1)จินตนาการ 

2)ความคิดริเริ่ม

3)ความคิดสร้างสรรค์ 

4)ขีดความสามารถในการควบคุมความคิดของคุณ  และ 

5)การตัดสินใจเลือก 


เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณจะต้องรู้ว่า ในที่สุดคุณจะต้องรับผิดชอบต่อพรนั้น เช่นเดียวกัน


คำกล่าวนี้ได้คำนึงถึงการเกิดที่แตกต่างกันของแต่ละคนในการพิจารณาด้วย ขณะเดียวกัน  ก็ให้แต่ละคนมีความรับผิดชอบตามที่ประเมินตนเองด้วย  


พึงสังเกตว่า ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่า คำกล่าวเช่นนี้เป็นการปฏิเสธความสำคัญของความรับผิดชอบ  เพราะการกล่าวเช่นนั้นเป็นการขัดขวางการให้ทานที่ยิ่งใหญ่


2.  ในแต่ละวันต้องถามตัวเองว่า วันนี้จะมีความหมายต่อข้าพเจ้าในฐานะคน ๆ หนึ่งได้อย่างไรบ้าง ?  


ในการตัดสินใจว่า สิ่งใด คือ สิ่งที่คุณปรารถนา  คุณจะต้องรู้ว่าประสบการณ์แต่ละครั้งที่คุณได้พบนั้นมีความสอดคล้องอย่างลงตัวกับสิ่งที่คุณกำลังแสวงหาอยู่หรือไม่ เพียงใด


คุณมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน  ซึ่งเวลาทั้งหมดนี้คุณจะต้องรับผิดชอบ  คุณมีอิสระที่จะทำงานอย่างหนักจนสุดความสามารถ ถ้าคุณประสงค์เช่นนั้น  


แต่คุณต้องรับผิดชอบต่อชีวิต ชีวิตมิได้   รับผิดชอบต่อคุณ!!!


ขณะที่คุณอ่านหนังสือเล่มนี้แต่ละหน้า ต้องรักษาสัญญาแห่งความรับผิดชอบต่อไปนี้ไว้กับตัวเองเสมอ ผู้นำชาวอเมริกันที่โดดเด่นแต่ละคนล้วนยึดมั่นในสัญญาแห่งความรับผิดชอบนี้ไว้อย่างเงียบๆเสมอ 


โปรดฉกฉวยเอาประโยชน์ทุกอย่างจากเรื่องราวของ มาร์คัส การ์วี ผู้ซึ่งเตือนสติฝูงชนว่าพวกเขามีภาระใดบ้างท่ามกลางความยากจนและการกดขี่!!!


"คนผิวดำทั้งหลาย (และลูกอีสานทั้งหลาย)... ในอดีตพวกเราเคยยิ่งใหญ่มาแล้ว พวกเรากำลังจะมีความยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จงอย่าหมดสิ้นความกล้าหาญ อย่าสูญสิ้นศรัทธา ต้องเดินหน้าต่อไป..."


สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าก็ขอให้ท่านจงมุ่งมั่นในการก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ด้วยความเป็นอิสระของตนเอง และด้วยการพึ่งตนเองให้มากยิ่งขึ้น

ชะตาชีวิตของคุณอยู่ในกำมือของคุณเอง 


คุณต้องการเป็นคนที่พึ่งตนเองหรือไม่? 


ถ้าต้องการเป็นคนที่พึ่งตนเอง...

จะต้องพิสูจน์ให้เห็นด้วยการ...ลงมือทำ

ถ้าข้าพเจ้าประจักษ์กับสายตาว่าการต่อสู้เพื่อความสำเร็จซึ่งกินเวลานานและซึมซับในทุกอณูของร่างกายนั้นถูกขับเคลื่อนด้วยความปรารถนาที่จะเป็นคนที่พึ่งตนเองอย่างแรงกล้า ข้าพเจ้าก็จะรู้ว่าท่านได้ปฏิบัติตามแนวทางแห่งความสำเร็จที่นำเสนอโดย แดนนี  คอกซ์  นักเขียนแนวปลุกใจที่ประกาศความรับผิดชอบของตนเองไว้ ดังนี้


"ณ บัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ข้าพเจ้าต้องการและควรได้รับ ทีเป็นเช่นนี้ หากจะพิจารณาจากสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ให้แก่สังคมในวันนี้ก็จะพบว่า ทรัพย์สมบัติของข้าพเจ้าก็ดี เงินออมของข้าพเจ้าก็ดี และความเป็นอยู่ของข้าพเจ้าก็ดี ล้วนแต่เป็นกระจกสะท้อนภาพอันแท้จริงของข้าพเจ้า  ซึ่งได้แก่ ความมานะพยายามของฃ้าพเจ้าและสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ให้แก่สังคม ข้าพเจ้าให้สิ่งใดแก่ผู้อื่น ข้าพเจ้าก็ได้รับสิ่งนั้น ถ้าข้าพเจ้าไม่มีความสุขกับสิ่งที่ได้รับมันก็ต้องเป็นเพราะว่า ในวันนี้ข้าพเจ้ายังไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนในราคาที่ควรแก่การได้รับความสุขนั้น นั่นเอง..."





วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ความสามารถของคนไทย(The Competency of Thai Human Resources)

ต่างชาติมองไทยวันนี้เป็นเรื่องขีดสมรรถนะหรือ Competency ในการปฏิบัติงานของคนไทย
ลองคิดตามเรื่องนี้ดูเพื่อเป็นการทบทวนหัวข้อการพัฒนาทรัพยากรด้านมนุษย์ของคนไทย ครับ


ทัศนคติของคนต่างชาติมองการทำงานของคนไทย....
 
เราคว้าตัวฝรั่งมาทั้งหมด 12 คน ซึ่งแต่ละคนโชกโชนกับการทำงานในแวดวงคนไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี  เมื่อถามว่าพวกเค้ามีความเห็นอย่างไรกับการทำงานแบบไทย ๆ เราก็ได้คำตอบว่า:
 
1. ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง คนไทยมักจะยึดติดกับความเคยชินแบบเดิม ๆ เคยทำมาอย่างไรก็จะทำอยู่อย่างนั้น 
 
ไม่ค่อยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าฝรั่งเอาวิธีใหม่ ๆ เข้ามาทำให้พวกเขาต้องทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญให้พวกเขา มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่หรือไม่ก็ถึงกับถูกต่อต้านก็มี
 
-เจฟฟรีย์ บาร์น
 
2. การโต้แย้ง 
 
เมื่อมีการเจรจา คนไทยจะไม่กล้าโต้แย้งทั้ง ๆ ที่ตัวเองกำลังเสียเปรียบ ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นคนคุมเกม  บางคนบอกว่ามีนิสัยอย่างนี้เรียกว่า "ขี้เกรงใจ" แต่สำหรับฝรั่งแล้ว นิสัยนี้จะทำให้คนไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
 
- ทานากะ โรบิน (จูเนียร์) ฟูจฮาระ
 
3. ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด 
 
เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคนไทยคือ มักจะไม่ค่อยกล้าบอกความคิดของตัวเองออกมา ทั้ง ๆ ที่คนไทยก็มีความคิดดีไม่ไม่แพ้ฝรั่งเลย แต่มักจะเก็บความสามารถไว้ ไม่บอกออกมาให้เจ้านนายได้รู้ และจะไม่กล้าตั้งคำถาม  บางทีฝรั่งก็คิดว่าคนไทยรู้แล้วเลยไม่บอกเพราะเห็นว่าไม่ถามอะไร ทำให้ทำงานกันไปคนละเป้าหมาย หรือทำงานไม่สำเร็จ เพราะคนที่รับคำสั่งไม่รู้ว่าถูกสั่งให้ทำอะไร
 
- ไมเคิล วิดฟิล์ค
 
4. ความรับผิดชอบ 
 
1. ฝรั่งมองว่าคนไทยเรามักทำไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาในการทำงานไว้ล่วงหน้า  ทั้ง ๆ ที่งานบางชิ้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดยิ่งงานไหนให้เวลาในการทำงานนานก็จะยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ ๆ จะถึงกำหนดส่ง เลยทำงานออกมาแบบรีบ ๆ ไม่ได้ผลงานดีเท่าที่ควร
 
2. ไม่ค่อยยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าให้เซ็นชื่อรับผิดชอบงานที่ทำคนไทยจะกลัวขึ้นมาทันที เหมือนกับกลัวจะทำไม่ได้ หรือกลัวจะถูกหลอก
 
- สเตฟานี จอห์นสัน
 
5. วิธีแก้ไขปัญหา 
 
คนไทยไม่ค่อยมีแผนการรองรับเวลาเกิดปัญหา แต่จะรอให้เกิดก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไปแบบเฉพาะหน้า  หลายครั้งที่ฝรั่งพบว่าคนไทยไม่รู้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ต้องรอให้เจ้านายสั่งลงมาก่อนแล้วค่อยทำตาม ถ้านายเจ้านายไม่อยู่ทุกคนก็จะประสาทเสียไปหมด
 
- ดร.มาเรีย โรเซนเบิร์ก
 
6. บอกแต่ข่าวดีคนไทยมีความเคยชินในการแจ้งข่าวที่แปลกมาก คือ
 
1. จะไม่กล้าบอกผู้บังคับบัญชาชาวต่างชาติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จนกระทั่งบานปลายไปเกินแก้ไขได้จึงค่อยเข้ามาปรึกษา
 
2. จะเลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่าเจ้านายจะชอบ เช่น บอกแต่ข่าวดี ๆ แทนที่จะเล่าไปตามความจริง  หรือถ้าหากเจ้านายถามว่าจะทำงานเสร็จทันเวลาไหม ก็จะบอกว่าทัน (เพราะรู้ว่านายอยากได้ยินแบบนี้) แต่ก็ไม่เคยทำทันตามเวลาที่รับปากเลย
- โจนาธาน ธอมพ์สัน
 
7. คำว่า "ไม่เป็นไร"
เป็นคำพูดที่ติดปากคนไทยทุกคน ทำให้เวลามีปัญหาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบ และจะไม่ค่อยหาตัวคนทำผิดด้วยเพราะเกรงใจกัน  แต่จะใช้คำว่า "ไม่เป็นไร" มาแก้ปัญหาแทน
 
- เจนิส อิกนาโรห์
 
8. ทักษะในการทำงาน 
 
1. ไม่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ ถ้าทำงานเป็นทีมมักมีปัญหาเรื่องการกินแรงกันบางคนขยันแต่บางคนไม่ทำอะไรเลย 
 
บางทีก็มีการขัดแย้งกันเองในทีม หรือเกี่ยงงานกันจนผลงานไม่คืบหน้า
2. ไม่ค่อยมีทักษะในการทำงาน แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงมาแล้ว และไม่ค่อยใช้ความพยายามอย่างเต็มทีเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด
 
3. พนักงานชาวไทยที่รู้จัก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องราวความเคลื่อนไหวของโลกเท่าไรนัก แล้วไม่ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติมแม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานก็ตาม
 
- เดวิด กิลเบิร์ก
 
9. ความซื่อสัตย์ 
พนักงานคนไทยควรจะมีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมามากกว่านี้ หลายครั้งที่ชอบโกหกในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น มาสาย ขาดงานโดยอ้างว่าป่วย ออกไปข้างนอกในเวลางาน
 
- เฮเบิร์ก โอ ลิสส์
 
10. ระบบพวกพ้อง 
 
คนไทยมักจะนำเพื่อนฝูงมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ ผมไม่เคยชอบวิธีนี้เลย ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อข้าวของภายในสำนักงาน  พวกเขามักจะแนะนำเพื่อน ๆ มาก่อนโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่บริษัทควรจะได้รับ นี่เป็นประสบการณ์จริงที่ประสบมา  การให้ความช่วยเหลือเพื่อนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเลยเป็นอะไรที่แย่มาก  และเมื่อพบว่าเพื่อนพนักงานด้วยกันทุจริต คนไทยก็จะช่วยกันปกป้อง และทำให้ไม่รู้ไม่เห็นจนกว่าผู้บริหารจะตรวจสอบได้เอง
 
- มาร์ค โอเนล ฮิวจ์
 
11. แยกไม่ออกระหว่างเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว 
 
คนไทยมักจะไม่รู้ว่าอะไรว่าอะไรคือเรื่องงาน และอะไรที่เรียกว่าเรื่องส่วนตัว  พวกเขาชอบเอาทั้งสองอย่างนี้มาปนกันจนทำให้ระบบการทำงานเสียไปหมด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งขององค์กร
 
1. ชอบสอดรู้สอดเห็น โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน
 
2. มักจะคุยกันเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานมากเกินไป บางครั้งทำให้บานปลายและนำไปสู่ข่าวลือ และการนินทากันภายในสำนักงาน
 
3. มักจะลาออกจากบริษัทโดยไม่ยอมแจ้งล่วงหน้าตามข้อตกลง แต่กลับคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์เต็มที
 
4. ไม่ยอมรับความผิดชอบที่มีมากขึ้นในช่วงวิกฤติ
 
5. ต้องการเงินมากขึ้นแต่กลับไม่ค่อยสร้างคุณค่างานอะไรเพิ่มขึ้นเลย
 
- วิลเลี่ยม แมคคินสัน
 
12. นับถือระบบอาวุโส 
 
คนไทยให้เกียรติคนที่อายุมากกว่ามากเกินไป จนไม่กล้าทำอะไรที่เรียกว่าเป็นการข้ามหน้าข้ามตา  บางครั้งคนที่อายุน้อยกว่าอาจจะมีความคิดความสามารถมากกว่า แต่ก็ไม่กล้าแสดงออกเพราะเกรงใจคนที่อายุมาก เป็นการทำลายโอกาสของตัวเอง และโอกาสของบริษัท
 
- เนลสัน ฟอร์ด — with Raweewan Weerapan and Moddang Nak.
 
บางทีความจริงมันเจ็บปวด แต่มันก็เป็นยาขมที่รักษาไข้ได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณทุกความจริง ที่จะทำให้พวกเราคนไทยทำงานดีขึ้น


วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

สงสัยจัง! คนไทยไม่รู้หน้าที่ โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม จริงหรือ ?


หน้าที่ เป็นคำนาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุว่าหน้าที่หมายถึง "กิจที่จะต้องทำด้วยความรับผิดชอบ" ดังนั้น มันก็คือ กิจ หรือ ธุระ หรือ งาน ที่จะต้องกระทำ คือ "จำเป็นต้อง" กระทำ "ด้วยความรับผิดชอบ"  ถ้ากล่าวอย่างละเอียดแล้วหน้าที่ จึงหมายถึง "งานที่ต้องกระทำด้วยความรับผิดชอบ" นั่นเอง 

จากคำอธิบายนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า เขามีการเน้นที่ การกระทำและความรับผิดชอบ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เมื่อเราพูดถึงคำว่าหน้าที่ เรามีความมุ่งหมายที่จะเน้นย้ำที่ "ความรับผิดชอบในการทำงาน" 

เมื่อดูพจนานุกรมภาษาอังกฤษ  ผมพบว่า BBC English Dictionary 1993 อธิบายความหมายของหน้าที่ ดังนี้

Duty is the work that you have to do as your job. If you say that something is your duty, you mean that you ought to do it because it is your responsibility.

จากคำอธิบายของ BBC เราพบว่า ทั้งไทยและอังกฤษต่างก็เน้นย้ำการมีความรับผิดชอบ (Responsibility) เหมือนกันครับ!

ผมจึงขอสรุปว่าการที่มีการแชร์กันอย่างกว้างขวางทาง  social medias    เรื่อง  10 จุดอ่อนของคนไทย ซึ่งชาวญี่ปุ่นบอกว่า ข้อแรก คนไทยไม่รู้หน้าที่ โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม ทำให้มีการแสวงหาประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของส่วนรวมนั้น แท้จริงก็คือเขาแสดงความเห็นว่า คนไทยทำงานไม่มีความรับผิดชอบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ คนไทยไม่มีความรับผิดชอบในการทำงาน นั่นเอง !!!

หลายท่านเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ ขณะที่ชาวญี่ปุ่นที่ถูกอ้างกลับออกมาปฏิเสธทำนองว่าไม่ได้ว่าอย่างนั้น !
ท่านเองล่ะครับ จะสร้างเสริมให้คนไทยทั้งชาติ มีความรับผิดชอบในการทำงานเพิ่มมากขึ้น หรือเราจะไปโต้แย้งคำกล่าวนี้อย่างไรดี ?

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

10 จุดอ่อนของคนไทย

JETRO Bangkok: จี้ 10 จุดอ่อนของประเทศไทย



ชาวญี่ปุ่นวิเคราะ์คนไทย พบว่า จุดอ่อนของคนไทยมี10 ข้อคือ:-
1)ไม่รู้หน้าที่ โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม จึงมีแต่จะแสวงหาประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์ของส่วนรวม
2) การศึกษาไม่ดีทำให้คนและประเทศด้อยขีดความสามารถในการแข่งขัน 
3) วิสัยทัศน์สั้น มองอนาคตไม่เป็นจึงใจเร็วด่วนได้ รอไม่ได้อดเปรี้ยวไว้กินหวานไม่ได้
4) ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 
5) การกระจายความเจริญยังไม่เสมอภาค 
6) การบังคับใช้กฏหมายไม่เข้มแข็ง 
7) สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ  
8) NGO ค้านลูกเดียว บ่อยครั้งที่เหตุผลจริงๆไม่ได้พูดกัน

9) ยังไม่พร้อมในเวทีโลก ด้อยความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลกเพราะยังขาดทักษะและทีมเวิร์คที่ดี 
10) เลี้ยงลูกไม่เป็น ทำให้เด็กขาดภูมิคุ้มกัน และเป็นขี้โรคทางจิตใจ.
เมื่อรู้แย่างนี้แล้ว เราจะยอมรับกันหรือไม่ จะแก้ไขกันหรือไม่ครับhttps://www.jetro.go.jp/ext_images/thailand/pdf/statement_10_weak_points_27Jul15_tha.pdf