วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รูปธรรม นามธรรม เป็นของสำคัญในพระพุทธศาสนา

ที่กล่าวว่า รูป นาม เป็นเรื่องสำคัญ
ในพระพุทธศาสนา

ก็เพราะว่า
พระไตรปิฏกก็ขยายมาจาก รูปธรรม นามธรรม

ผู้ปฏิบัติที่ประสงค์จะพ้นทุกข์ เห็นอริยสัจ 4 ก็จะต้องเรียนรู้ รูปธรรม นามธรรม เสียก่อน!

วิธีการเรียนรู้ ก็จะต้องเรียนทั้ง 3 นัย คือจะต้องรู้ปริยัติ รู้ว่าขันธ์ 5 รู้ว่า รูปขันธ์ คืออะไร? เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ คืออะไร? ย่อขันธ์ 5 เหลือ รูปธรรม นามธรรม รวมทั้งต้องรู้ว่า รูป นาม เกิดจากอายตนะ หรือ ทวาร 6 
ต่อจากนั้นจะเป็นภาคปฏบัติ และ ปฏิเวธ โดยมีความสัมพันธ์กัน บูรณาการกัน

เรื่องรูป นาม นี้ ท่านอาจารย์ แนบ มหานีรานนท์ อธิบายไว้ว่า 

"วิปัสสนา เป็นปัญญาชนิดหนึ่งที่รู้ว่า นาม รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 
ถ้าปัญญาวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ต้องรู้ว่า รูป นาม ไม่เที่ยง หรือ รูป นาม เป็นทุกข์ หรือ รูปนาม ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสารอะไร"
ผมขอเรียนว่า ถ้าท่านอ่านความหมายของวิปัสสนาช้างต้นแล้ว จากนั้นไปอ่านหนังสือ แนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา วิสุทธิ 7 โดยอาจารย์ แนบ มหานีรานนท์ เพิ่มเติมอีก ท่านจะเข้าใจ รูป นาม มากยิ่งขึ้น และต่อจากนั้นลงมือปฏิบัติตามคำแนะนำ ผมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ปัญญาที่ชื่อว่า วิปัสสนา ก็จะเกิดขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัยและจะเกิดขึ้นภายในเวลาช้าหรือเร็วตามที่ท่านผู้อ่านเป็นผู้กำหนดได้ด้วยตนเอง ครับ


  



วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ ทำไมต้องบรรลุสองสิ่งนี้





ธรรม ๕ ประการ ปฏิบัติแล้ว มี "เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ" เป็นผล

สมาชิกชมรมพุทธศาสตร์รวมใจ คุณ San C นำเสนอเรื่องว่าตายแล้วไปไหน โดยบอก
ว่าคนเราตายแล้วมีทางไป 7 ทาง คือ




San C บอกอีกว่าตนเองนั้นตั้งปณิธาน มุ่งมั่นกำหนดวิสัยทัศน์ว่าจะไปใน ทางสายที่ 1 คือ ไปพระนิพพาน ด้วยกำลังวิปัสสนา 

เมื่อท่านตั้งวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ต้องทำเช่นนั้นแล้ว ท่านบอกเพิ่มเติมอีกว่า ท่านกำลังลงมือทำกิจกรรมและโครงการต่างๆเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ที่ระบุไว้ ท่านบอกว่า

"...กำลังเดินทางไป ขับดันด้วยฉันทะ ไม่ได้ด้วยความอยาก มุ่งเน้นที่เหตุ คือทำเหตุให้ดี เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากเหตุ ปัจจัย เมื่อถึงพร้อมผลมันก็จะเกิดเอง เหมือนปลูกต้นไม้ หน้าที่เราคือรดน้ำ พรวนดิน  ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสม ส่วนการออกผลเป็นหน้าที่ของต้นไม้ เราไปเร่งไม่ได้!!!"

สำหรับวิธีปฏิบัติเพื่อไปถึงทางสาย ที่ 1 นี้ San C อ้าง อนุคคหิตสูตร ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ ตั้งใจจริง เพื่อได้เจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ ซึ่งมีข้อความ ดังนี้ครับ

"ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติ เป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติ เป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
       องค์ ๕ ประการ ที่สนับสนุนให้เกิดสัมมาทิฏฐิ มีอะไรบ้าง คำตอบคือ
         ๑. ศีล
         ๒. สุตะ
         ๓. สากัจฉา
         ๔. สมถะ
         ๕. วิปัสสนา
สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ ที่กล่าวแล้วนี้ สนับสนุน ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์"

 ตามพระสูตรทียกมานี้ผมเข้าใจว่า

"เหตุแห่งสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ"

เมื่อผู้ปฏิบัติได้สัมมาทิฏฐิ คือ มีความตั้งใจชอบ ประกอบกับการมีองค์  5 คือ 1) มีการรักษาศีล 2) มีการฟังธรรม 3) มีการสนทนาปรารภ บอกความเป็นไปแห่งจิตของตนเสมอ 4) มีการลงมือปฏิบัติสมาบัติ 8 และ 5) มีความหมั่นเพียรตรึกตรองธรรมะ เกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นิพพิทา วิราคา นิโรธา ปฏินิสสัคคา อันจะช่วยให้เกิดการรู้พร้อมเฉพาะเรื่องธรรม โดยการปฏิบัติธรรมานุปัสสนา เสมอๆ  การทำพันธกิจคือ การปฏิบัติและภาวนาเช่นนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนกันและกันอีกชั้นหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ ในที่สุดผู้ปฏิบัติย่อมได้เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ!!!




ท่านครับ จากที่ผมกล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าการเข้าถึงเจโตวิมุตตินั้น เราจะต้องรู้พร้อมเฉพาะเรื่องจิตเสียก่อน รู้รอบและปฏิบัติจนถึงขั้นบรรลุสมาธิได้ ซึ่งสมาธินี้ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ก็คือการบรรลุมรรค ข้อที่ 8 นั่นเอง 

การบรรลุมรรคข้อที่ 8 นี้มิใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้โดยเอกเทศ เดี่ยวๆตามลำพัง แต่เป็นการถึงซึ่งสัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นตามลำดับของการปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดทุกๆข้อ เริ่มตั้งแต่ ข้อที่ 1 คือ สัมมาทิฏฐิ ต่อไปสัมมาสังกัปปะ ต่อไปๆ ฯลฯ เช่นนี้ และประกอบกันเรื่อยไปทุกๆข้อเลย จนถึงข้อที่ 7 คือสัมมาสติและ ข้อ 8 ได้สัมมาสมาธิที่เรากำลังกล่าวถึงในที่สุด ครับ !!!

กล่าวโดยย่อ ท่าน San C จะบรรลุวิสัยทัศน์ตามที่ตั้งไว คือการไปนิพพานโดยใช้วิธีปฏิบัติวิปัสสนานั้น ก็ต้องประกอบด้วย มีการรักษาศีล มีการฝึกสติให้รู้สึกตัวเกิดสมาธิ และมีการทำวิปัสสนาจนเกิดปัญญา ทั้งสามนี้ประกอบกันครับ !!!

นี่คือเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติอย่างย่อๆครับ!





คำอธิบายศัพท์:
(๑) สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึง วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ แต่ในอรรถกถามัชฌิมนิกายอธิบายว่าหมายถึง อรหัตตมัคคสัมมาทิฏฐิ
(๒) เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึง มัคคสมาธิ อันได้แก่มรรคข้อที่ 8 สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ และผลสมาธิ 
(๓) ปัญญาวิมุตติ ในที่นี้หมายถึง ผลญาณ ได้แก่ ผลปัญญาที่ ๔ กล่าวคือ อรหัตตผลปัญญา
(๔) ศีล ในที่นี้หมายถึง ปาริสุทธิศีล ๔ ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค 
(๕ ) สุตะ ในที่นี้หมายถึง การฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ 
(๖ ) สากัจฉา ในที่นี้หมายถึงการสนทนาบอกความเป็นไปแห่งจิตของตน 
(๗) สมถะ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ ๘ ที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา จำแนกเป็น รูปฌาน  4 และ อรูปฌาน 4
(๘) วิปัสสนา ในที่นี้หมายถึง อนุปัสสนา 7 ประการ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา


ท้ายที่สุด จากการอ่านคำอธิบายศัพท์เพิ่มเติมจะเห็นได้ว่าการเข้าถึง เจโตวิมุตติ เราจะต้องรู้พร้อมเฉพาะเรื่องจิตถึงขั้น บรรลุสมาธิ ซึงสมาธินี้ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ก็เป็นมรรค ข้อ ที่ 8 

ท่านที่รักครับ
ในส่วนของ ปัญญาวิมุตติ นั้น ได้แก่ผลปัญญาขั้น อรหัตผลปัญญา หมายความว่าผลปัญญาที่ 4 ตามคำอธิบายศัพท์ข้างต้น 

ส่วนวิธีปฏิยัติเพื่อได้ปัญญาวิมุตตินั้น อธิบายอย่างสั้น กระชับ นั้นมีดังนี้ครับ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล 
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้
จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ"

ขออนุโมทนาบุญให้ San C ของเราจุ่งบรรลุวิสัยทัศน์ของท่านเทอญ



สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ดร.ประสิทธิ์ คชโคตร
11 มีนาคม 2560

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สมถะต่างจากวิปัสสนาอย่างไร?


 ผมพบว่าคำอธิบายเรื่องสมถะกับวิปัสสนาของท่านพุทธทาสเป็นคำอธิบายที่สั้นและเข้าใจง่ายจึงขอคัดมาให้อ่านครับ

ในเรื่องการทำกัมมัฎฐานนี้ ขอให้หมายถึงการกระทำทางจิตใจ, ใจความสำคัญมันก็อยู่ตรงที่

เราต้องการให้ความจริงของธรรมชาติที่เกี่ยวกับอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี้ ปรากฏแจ่มแจ้งอยู่ในใจเสมอ : แต่แล้วมันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าจิตยังไม่อยู่ในอำนาจ ไม่ยอมที่จะพิจารณาหรือไม่ยอมที่จะเห็นในทางที่เราต้องการจะให้เห็น 

เพราะฉะนั้นเราต้องมีการฝึกในขั้นต้นกว่านั้นอีก คือฝึกเพื่อบังคับจิตให้ได้ 



ด้วยเหตุนั้นการทำกัมมัฎฐานจึงแบ่งเป็น ๒ ตอน, 

ตอนแรก ก็คือทำเพื่อบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจ ; 
ตอนหลัง ก็ทำเพื่อให้จิตที่อยู่ในอำนาจนี้พิจารณา สิ่งที่เราต้องการให้พิจารณา สิ่งที่เราต้องการให้พิจารณา กล่าวคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง.

การที่จะบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจ การฝึกตอนแรกนี้ เรียกว่าฝึกอย่างสมาธิโดยตรงหรือ “สมถะ” 

พอจิตอยู่ในอำนาจแล้ว ให้พิจารณาเพื่อความเห็นแจ้ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้เป็นตอนที่เรียกว่า “วิปัสสนา” โดยตรง 

ฉะนั้นสมถะกับวิปัสสนาจึงต่างกันอยู่ตรงนี้

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Follow Lord Buddha's Foot Steps to four most important religious sites


One of the most important places in Buddha's history  we visited is the Bodh Gaya Pagoda where you can sit under the shade of the Bhodi tree at which Gautama gained an enlightenment.



The route we took to visit our destination s appears in the following map.
     

We left Bangkok from Suvarnaphume Airport and landed at Kolkatta Airport in the state of West Bengals early in the morning. We then took a tourist bus to Bodh Gaya of Gaya district  in Bihar State.
Staying at a Thai Temple for two nights,we began our Dharma Tour by making first site seeing at Sujata Residence.

      
Our group took a picture at Sujata       Residence  and left for Bodh Gaya Temple



 Our second destination is the site of  Guatama Buddha's parinivarana (death) in Kushinnara.


Then we visited Lumbini, the birthplace of Sidhartha Guatama,which is now in Nepal.


Our final destination of the pilgrimage is Saranath in Varanasri of Uttarapradesh State.This is the site where Lord Buddha first taught the Dharma or  "Ovadhapatimokh" which means universal truth teachings.It was all about not to do bad, to do well and to purify one’s mind.



We visited Bodh Gaya Temple, Kushinara, Lumbini, and Saranath during our ten day Dharma tour.

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

ฝรั่งมองคนไทย:มันเกิดข้อผิดพลาดของระบบการศึกษา?



ทัศนคติของคนต่างชาติมองการทำงาน
ของคนไทย...

เราคว้าตัวฝรั่งมาทั้งหมด 12 คน ซึ่งแต่ละ
คนโชกโชนกับการทำงานในแวดวงคน
ไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี  

เมื่อถามว่าพวกเค้ามีความเห็นอย่างไรกับ
การทำงานแบบไทย ๆ 12 เรือง ต่อไปนี้ คือ

1.ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง (Attitude towards changes)

2.การโต้แย้ง (Conflict Management)
3.ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด (Reporting Skill)

4.ความรับผิดชอบ (Responsibility) 

5.วิธีแก้ปัญหา (Problem Solving Skills)

6.บอกแต่ข่าวดี:คนไทยมีวิธีแจ้งข่าวที่แปลกมาก (Ability To Set Priorities)

7.คำว่า "ไม่เป็นไร" เป็นคำพูดที่ติดปาก
คนไทยทุกคน ( Commitment to Specific Goals or Results Oriented) 

8.ทักษะในการ ทำงาน (Working Skills) 

9.ความซื่อสัตย์ (Integrity) 

10.ระบบพวกพ้อง (Nepotism) 

11.การแยกไม่ออกระหว่างเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว (Inability to separate personal affairs from official duties)

12.ระบบอาวุโส (Influences of seniority)

ฝรั่งสิบสองท่านมาพบอาการของคนไทยแต่ละข้อแล้ว เขามีคำตอบอย่างไร เขาบรรยายความรู้สึกและอธิบายเหตุผลประกอบอย่างไรบ้าง!!!

ทัศนคติของคนไทยสิบสองเรื่องที่ฝรั่งไม่สามารถเข้าใจนี้ เมื่ออ่านแล้ว ผมมีความประสงค์พิจารณานัยของทัศนคติทุกข้อในบริบทของกระบวนการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาสังคมไทยอย่างตรงไปตรงมา เพื่อจะได้หันกลับมามองตนเองอีกครั้ง และเพื่อเป็นการทำ Self Assessment หรืออาจจะเรียกว่าทำโอปนยิโก เพื่อน้อมเข้ามาดูภายในตัวเราเอง พิจารณาดูว่าเราคนไทยมีจุดอ่อนอะไรบ้างที่จำเป็นต้องเร่งรีบทำการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น

อันที่จริง เรื่องการสร้างทัศนคตินี้ เมื่อเราพิจารณาหลักสูตรการศึกษาของสถาบันระดับสูงของราชการและเอกชนไทย เราจะพบว่าทัศนคติในการทำงานทั้งสิบสองเรื่องนี้ ล้วนปรากฏอยู่ในหลักสูตรการผศึกษาอยรมแล้ว เช่นหลักสูตรโรงเรียนนายอำเภอ (นอ.) และหลักสูตรโรงเรียนปกครองระดับสูง (นปส.)
ก็บรรจุรายวิชาเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ ผมมีความเชื่อมั่นว่าสถาบันระดับสูงของกระทรวงทบวงกรมต่างๆก็ล้วนบรรจุหัวข้อเรื่องเหล่านี้ไว้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรของตนไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน 

อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นอย่างชัดเจนก็คือสถาบันพระปกเกล้าก็ถึงกับมีหลักสูตรการฝึกอบรมระดับสูงเกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)!!!

แต่ทำไมเล่า เพราะเหตุใดเล่าครับ? เมื่อคนไทยจบหลักสูตรการศึกษาเหล่านี้แล้ว ออกไปปฏิบัติราชการ ไปทำงานภาคเอกชน รวมถึงการไปทำงานกับฝรั่งแล้ว พวกฝรั่งเขากลับไม่เข้าใจทัศนคติและวิธีการทำงานคนไทย จนถึงกับต้องสะท้อนมุมมองกลับมาว่า เรื่องทัศนคติในการทำงานของคนไทยดังกล่าวยจึงเป็นข้อด้อย เป็นจุดอ่อนที่มีปัญหาที่สุดของคนไทย !!! 



เป็นไปได้หรือไม่ว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น เพราะว่าเรากำหนดหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการสร้างทัศนคติ เรื่องขีดความสามารถและเรื่องทักษะทั้งสิบเรื่องนี้ไว้ผิดที่ ผิดระดับการศึกษา 
จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ทั้ง  12 เรื่องนี้ต้องไปอยู่ในหลักสูตรการสร้างครอบครัว หลักสูตรระดับโรงเรียนอนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับ ปวส. ปวช. หรือต้องไปอยู่ในหลักสูตรระดับ
ปริญญาตรีกันแน่? 


เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดและรอบคอบ ผมขอเชิญท่านกรุณาติดตามเนื้อหาเรื่องต่างชาติไม่เข้าใจคนไทย ในลิงค์ต่อไปนี้ครับ


สวัสดีครับ


วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

ท่องเที่ยวที่ชัยปุระ ราชาสถาน Indian Wedding Bharat Entering Jaipur City Palace


วัฒนธรรมและประเพณีการแต่งงาน หรือพิธีมงคลสมรส

ในประเทศไทยพิธีมงคลสมรสที่จัดกันแบบไทยอีสานต้องไปดูในชนบท
 https://www.youtube.com/watch?v=szqYUmsHPdI 

แต่ที่ประเทศอินเดียต้องไปดูในเมืองใหญ่
ชาวอินเดียจัดพิธีแต่งงานตามโรงแรมระดับ 5 ดาว
ตามโรงแรมที่ดัดแปลงมาจากพระราชวัง ครับ
เขาจัดพิธีแต่งงานอลังการขนาดไหน
ต้องตามไปดู


วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อีกห้าวันก็ปีใหม่ 2560 แล้ว ทำตัวให้คึกคักกันหน่อยครับ


มาทบทวนเรื่องความรวยกันดีกว่า

ความรวยที่หมายถึง  7 เรื่อง ต่อไปนี้ครับ

1) จิตใจที่สงบร่มเย็น (Peace of Mind)


2) การมีทัศนคติที่ดี (Positive Mental Attitude)

3) การมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง (Strong and Healthy Body) 


4) ความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความรัก (Loving and Healthy Relationship) 

5) เสรีภาพทางการเงิน (Financial Freedom)

 

6) การตั้งเป้าหมายและอุดมการณ์ที่สูงส่ง (Noble Ideology)

7) การมีความเชื่อมั่นในความสำเร็จของตนเอง (Self Esteem)


ลักษณะ 7 อย่างนี้ คือความรวยที่เราสรุปว่าเราสร้างได้ใน ปี 2559 ที่กำลังจะผ่านเราไปแล้วครับ!

 

ดร.ประสิทธิ์ คชโคตร